BACCHUS – แบกคัส หรือ ไดโอไนซัส เทพแห่งไวน์
ความอุดมสมบูรณ์และความสนุกสนาน

เทพแบกคัส เป็นบุตรของเทพซุสกับนางซิมิลี่
ซึ่งเป็นมนุษย์ ธิดาแห่งกรุงเธป เทพซุสได้แปลงกายเป็น มนุษย์รูปงามลงมาโลกมนุษย์
เพราะเกรงว่ามเหสี พระนางเฮร่า จะรู้เข้า
และกลัวว่านางซิมิลี่จะเกรงกลัวในรัศมีของพระองค์ และในที่สุด
ก็ได้นางเป็นชายาอีกองค์ แต่แล้ว พระนางเฮร่า ก็รู้เข้า
จึงได้แปลงกายมาเป็นคนรับใช้ของนางซิมิลี่ มาหลอกล่อให้นางอยากเห็นรูปร่างที่แท้จริงของเทพซุส
นางซิมิลี่
จึงได้ให้เทพซุสในรูปมนุษย์ ไปสาบานกับแม่น้ำสติ๊กซ์ ว่าจะให้ของขวัญแก่นาง
แล้วนางซิมิลี่ ก็ให้เทพซุสเปลี่ยนร่างที่แท้จริงออกมา พระองค์เกรงว่า ถ้าให้นางเห็นร่างที่แท้จริงของพระองค์ จะทำให้นางซิมิลี่มอดไหม้ เพราะ รัศมีของพระองค์
จึงบอกแก่นางซิมิลี่ว่า จะดูแลลูกในครรภ์ของนาง ส่วนนางก็จะได้รับของขวัญสมใจ
แล้วพระองค์ก็ได้ เปลี่ยนร่างเป็นเทพซุส นางซิมิลี่ก็มอดไหม้ไป
แต่บุตรของนางไม่เป็นอะไรเพราะ เป็นบุตรแห่งเทพ จากนั้น เทพซุส จึงได้ให้พวกนิมฟ์ล
นางไม้ ดูแลเทพแบกคัส พวกนิมฟ์ล ได้สอนให้เทพแบกคัส ปลูกพืชต่างๆ โดยเฉพาะองุ่น
ต่อมาพระองค์ได้ทดลองนำองุ่นไปหมักเอาไว้ และก็ได้ค้นพบ น้ำองุ่นที่รสชาติดีอย่างประหลาด
ยิ่งดื่ม ยิ่งมึนเมา ยิ่งอยากดื่ม ยิ่งสนุกสนาน พระองค์จึงได้เผยแพร่การทำไวน์องุ่นไปทั่วแดน
และต่อมา เทพซุส ได้รับพระองค์ไปเป็นเทพโอลิมปัสอีกพระองค์
เทพแบกคัส ยังเป็นเทพของการเกษตรกรรม
และการละคร นอกจากนั้นก็ยังรู้จักกันในนามว่า ผู้ปลดปล่อย ที่ปลดปล่อยส่วนลึกของตนเองโดยทำให้คลั่ง
หรือให้มีความสุขอย่างล้นเหลือ หรือด้วยเหล้าองุ่นหน้าที่ของแบกคัส คือเป็นผู้สร้างดนตรีออโลส
และยุติความกังวล
CERES – ซีรีส (โรมัน) หรือ ดิมิเทอร์ (กรีก)
เทพีแห่งการเกษตร
เป็นพระชายาพระองค์หนึ่งของเทพซุส

เทพีดีมิเทอร์มีธิดาองค์หนึ่งทรงนามว่า โพรสเสอพิน หรือ เพอร์เซโฟนี เป็นเทวีครองฤดูผลิตผลของพืชทั้งปวง
เทพีองค์นี้ถูกฮาเดสลักพาตัวไปเป็นคู่ครองในยมโลก
เมื่อเทพีดีมิเทอร์กลับมาจากทุ่งข้าวโพดไม่เห็นธิดา เที่ยวเรียกหาแต่ก็ไม่พบก็ เทพีไม่ได้ห่วงถึงภาระหน้าที่ประจำ
ที่เคยปฏิบัติ ดอกไม้ทั้งปวง จึงเหี่ยวเฉาเพราะขาดฝน พืชพันธุ์ธัญญาหารถูกแดดแผดเผา
ในที่สุดเจ้าแม่ก็สิ้นหวังทีจะตามหาธิดาของพระองค์ แต่เพื่อไม่ให้ผู้ใดรู้จัก เทพีดีมิเตอร์ได้จำแลงองค์เป็นยายแก่ ในขณะที่นั่งพักอยู่นั้น พวกธิดาของเจ้านครอีลูสิส เห็นยายแก่มานั่งคร่ำครวญคิดถึงลูก
เกิดความสงสาร และเพื่อที่จะให้ยายหายโศกเสร้า นางจึงชวน ยายแก่เข้าไปในวังให้ดูแลกุมาร
ทริปโทลีมัส ผู้เป็นน้อง ซึ่งยังเป็นทารกแบเบาะอยู่
เมื่อเทพีดีมิเทอร์ ได้อุ้มทารก ทารกก็เปล่งปลั่งมีนวลขึ้นเป็นที่อัศจรรย์แก่เจ้านครและ บริวารยิ่ง
แล้วไม่นานนัก เทพีดีมิเทอร์ก็ออกจากเมืองนี้เที่ยวหาธิดาต่อไป
วันหนึ่งในขณะที่เทพีดีมิเทอร์พักเลียบฝั่งแม่น้ำอยู่นั้น นางได้พบวัตถุแวววาว สิ่งหนึ่งอยู่แทบบาท
นางจำได้ทันทีว่าเป็น สายรัดขององค์ที่เพอร์เซโฟนีทิ้งฝากนางอัปสรแห่งแม่น้ำไซเอนีไว้ เมื่อตอนรถของฮาเดสจะลงสู่บาดาล เมื่อได้รู้ถึงที่อยู่ของธิดาแล้ว เทพีดีมิเทอร์จึงรีบไปอ้อนวอนเทพซุสให้ช่วย แต่เทพซุสมีเงื่อนไขว่า ถ้าเพอร์เซโฟนีไม่ได้เสวยสิ่งใดในระหว่างที่อยู่บาดาล
จะให้ฮาเดสส่งเพอร์เซโฟนีขึ้นมาอยู่กับมารดา
แล้วมีเทวบัญชาให้เฮอร์มีสลงไปสื่อสารแก่ฮาเดสในยมโลก ฮาเดสจึงต้องส่งเพอร์เซโฟนีให้แก่เทพีดีมิเทอร์ แต่ในขณะนั้นภูตครองความมืดเรียกว่า
แอสกัลลาฟัส ร้องประกาศขึ้นว่า
ราชินีแห่งยมโลกได้เสวยเมล็ดทับทิมแล้ว 6 เมล็ด
ในที่สุดจึงตกลงกันเป็นยุติว่า ในปีหนึ่ง ๆ
ให้เพอร์เซโฟนีเทวีอยู่กับฮาเดสใน ยมโลก 6 เดือน แล้วให้กลับขึ้นมาอยู่กับมารดาบนพิภพอีก
6 เดือน สลับกันอยู่ทุกปีไป
ด้วยเหตุนี้เมื่อเพอร์เซโฟนีเทวีอยู่กับมารดา โลกจึงอยู่ในระยะกาลของฤดูใบไม้ผลิ พืชพันธุ์ธัญญาหารนานาชนิดผลิดอก ออกผล
และเมื่อเพอร์เซโฟนีเทวีลงไปอยู่ในบาดาล
โลกก็ตกอยู่ในระยะกาลของฤดูหนาว พืชผลทั้งปวงซบเซา อันเป็นความเชื่อของชาวกรีกและโรมัน
และเมื่อเจ้าแม่ดีมิเทอร์พบธิดาแล้ว
ก็กลับไปยังเมืองอีลูสิส อีกครั้ง เพื่อให้มนุษย์นั้น รู้จักการทำไร่
ไถนา และเทพีดีมิเทอร์ได้สอนทริปโทลีมัส ซึ่งเติบโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว ให้รู้จักใช้ไถ จอบ และเคียว สั่งสอนชาวนาสืบ ๆ
กันมาจนตราบเท่าบัดนี้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น